Monthly Archives: November 2014

ความนิยมเรียนหลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล

การเลือกสาขาวิชาภาพยนตร์และโทรทัศน์

คือการศึกษากระบวนการทำงานด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการวิจารณ์ ซึ่งการเรียนการสอนด้านภาพยนตร์เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานนัก ส่วนอุตสาหกรรมภาพยนตร์นั้นก็เพิ่งมีการเจริญเติบโตขึ้นในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น การผลิตภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1880 โดยภาพยนตร์ในยุคแรกเป็นยุคของหนังเงียบ ที่นำการบรรเลงดนตรีออเคสตร้ามาใช้แทนบทพูด ซึ่งทุกวันนี้เทคโนโลยีในการผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ก้าวหน้าไปไกลมาก และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงมาก แม้แต่โทรศัพท์มือถือก็ยังสามารถนำมาใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ได้ คนทำภาพยนตร์จึงมีทางเลือกในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานมากขึ้น

เนื่องจากในยุคอดีตนั้นสื่อที่มีอิทธิพลมาก เผยแพร่ได้ง่าน พร้อมทั้งมีลักษณะที่น่าเชื่อถือนั้นก็คือด้านวารสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์นั่นเอง และสาขาวิชาชีพนี้ก็ได้รับความนิยมจนมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับอนุปริญญาขึ้นเป็นครั้งแรกของเมืองไทย  และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศก็ได้มีการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้มากยิ่งขึ้นในระดับอุดมศึกษา จนกระทั่งในปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้รับความนิยมอย่างมากมาย ซึ่งหลักฐานที่จะชี้วัดได้ดี ก็มาจากการที่อัตราการแข่งขันเข้าสู่คณะนิเทศศาสตร์ในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นมีอัตราที่สูงมาก และเป็นคณะยอดนิยมที่มีผู้เลือกมากกที่สุดใน 10 อันดับแรกแทบทุกปี

งานด้านภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลเป็นงานมีคุณค่าทั้งในเชิงธุรกิจและเชิงศิลปะ

เนื่องจากเป็นงานที่เข้าไปมีบทบาทและความสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ในฐานะที่เป็นสื่อที่ให้ทั้งสาระและความบันเทิง และในแง่ของการเป็นธุรกิจที่กลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับสังคมและประเทศอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลจึงเป็นการออกแบบมาเพื่อรองรับการขยายตัวในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลโดยเฉพาะ โดยการเรียนการสอนจะมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ควบคู่กับการลงมือปฏิบัติงานจริงในห้องปฏิบัติงานที่เพียบพร้อมด้วยเครื่องมืออันทันสมัยจากการสอนของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล ทั้งมีการเพิ่มพูนทักษะแก่นักศึกษาด้วยการเชิญบุคลากรผู้อยู่ในสาขาอาชีพการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลมาเป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษ

สามารถเข้าถึงโอกาสทางอาชีพทั้งในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในฐานะนักเขียนบท โปร์ดิวเซอร์ ผู้กำกับ และยังมีโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการด้านสื่อ นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการทำวิจัยด้านสื่อ การพัฒนานโยบาย และการจัดการสื่ออีกด้วย นักศึกษาสาขาวิชาการผลิตสื่อภาพยนตร์ยังสามารถศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวกับสื่อและการสื่อสาร สื่อสารมวลชน คอมพิวเตอร์กราฟิกดีไซน์หรือเทคโนโลยีกราฟิกดีไซน์ รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวกับสื่อรูปแบบใหม่ด้วย